กฎหมายการจ้างงานมีความสำคัญเป็นอย่างมากทั้งต่อนายจ้างและลูกจ้าง อย่างเช่นอาชีพแม่บ้านที่มีทั้งคนไทยหรือจะเป็นการหาแรงงานต่างด้าว ซึ่งการว่าจ้างงานที่ดีและราบรื่นนั้นควรเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตามกฎหมายในการว่าจ้างมีมากมายหลายข้อที่ทั้งผู้ว่าจ้างและลูกจ้างต้องศึกษาและรับทราบไว้ เพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งข้อกฎหมายที่ควรรู้ไว้เบื้องต้นและมักจะมีความสำคัญในการนำมาใช้อยู่บ่อย ๆ มีดังนี้
- สำหรับผู้ประกอบอาชีพแม่บ้านจะได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 ซึ่งอาชีพนี้อาจมีความสับสนอยู่บ้างเมื่อต้องเรียกร้องสิทธิต่าง
ๆ เพราะในกรณีที่ผู้ว่าจ้างได้ทำการว่าจ้างด้วยตนเอง
การเรียกร้องสิทธิก็ต้องดำเนินการกับตัวผู้ว่าจ้างโดยตรง
แต่ในกรณีที่มีบริษัทจัดหาลูกจ้างเพื่อไปทำงานตามสถานที่ต่าง ๆ แม่บ้านจะต้องติดต่อหรือดำเนินการกับบริษัทที่จัดหาบุคคลเนื่องจากกรณีนี้บริษัทนิติบุคคลเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งลูกจ้างเพื่อไปทำงานนั่นเอง
- รายได้ที่ลูกจ้างจะได้รับไม่ว่าจะเป็นแรงงานชาวไทยหรือแรงงานต่างชาติต้องได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน
ทั้งนี้รายได้ต่อวันจะมากหรือน้อยเท่าใดจะขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นจะอ้างอิงจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่นั้น ๆ
อย่างเช่นค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัด ชลบุรี ภูเก็ต และระยอง คือ 330 บาท แต่ถ้าในกรุงเทพฯ
ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี จะมีค่าจ้างขั้นต่ำที่วันละ 325
บาท ซึ่งอัตราค่าแรงขั้นต่ำล่าสุดได้เริ่มมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศเมื่อวันที่
1 เมษายน 2561
- ข้อกำหนดเกี่ยวกับเวลาทำงานตามกฎกระทรวง คือ จะต้องใช้เวลาทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนเวลาพักในการทำงานต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1
ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
แต่ถ้าจะมีการใช้เวลาพักมากขึ้นก็ต้องมีการตกลงกันระหว่างนายจ้างกับแม่บ้านอีกเช่น
เพื่อให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะของงานที่ว่าจ้าง
- ทั้งนี้กฎหมายได้มีข้อห้ามว่าห้ามจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นลูกจ้าง
หากเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีเป็นลูกจ้างต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงาน
และไม่ให้ลูกจ้างเด็กทำงานในระหว่าง 22.00 – 06.00 น.
ดังนั้นหากนายจ้างที่ต้องการว่าจ้างแม่บ้านก็ต้องตรวจสอบอายุให้ดีก่อนว่าเป็นไปตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้หรือไม่
การว่าจ้างแรงงานไทยหรือจะเป็นการหาแรงงานต่างด้าวก็ต้องว่าจ้างโดยปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้อง เพื่อให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างได้รับสิทธิในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นธรรมและไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างกัน โดยใช้กฎหมายแรงงานเป็นสิ่งควบคุมให้การสัญญาว่าจ้างถูกต้องตามกฎหมายและหลักมนุษยธรรม
